รูปแบบการกรอกข้อมูลวันที่ใน Excel Template
26/08/2022
ภ.ง.ด.2 คืออะไร ? 
09/09/2022
รูปแบบการกรอกข้อมูลวันที่ใน Excel Template
26/08/2022
ภ.ง.ด.2 คืออะไร ? 
09/09/2022

ภ.ง.ด.3 คืออะไร ? 

ภ.ง.ด.3 คืออะไร ? 

ภ.ง.ด.3 คือแบบที่ใช้สำหรับการยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

ผู้มีหน้าที่ หักภาษี เงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.3 คือใคร ? 

ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.3 คือ ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องปฏิบัติอย่างไร ? 

  • หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินได้ ตามที่กฎหมายกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 
  • ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี 
  • นำส่งภาษีที่ได้หักไว้ภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายเงิน 

เงินได้ประเภทใดที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 

  • เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน 
  • เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี และประณีตศิลปกรรม 
  • เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนที่สำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือ 
  • เงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งฯ เฉพาะประเภทที่กำหนดไว้ ดังนี้ 
    • เงินรางวัลในการประกวดแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน 
    • เงินได้จากการเป็นนักแสดงสาธารณะ 
    • เงินได้จากกรับโฆษณา 
    • เงินได้จากการรับจ้างทำของ 
    • เงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ 
    • เงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย 
    • เงินได้จากค่าขนส่ง 

บทกำหนดโทษ กรณีปฏิบัติไม่ถูกต้องครบถ้วน 

  • ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายมิได้หักและนำเงินส่ง หรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนเงินที่ขาดไปแล้วแต่กรณี 
  • ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หักไปนำส่งภายในกำหนดเวลา จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ 
  • ผู้ใดเจตนาละเลยไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่นเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร) 

ผู้เขียน นายกฤษณ์ สุขวัจน์ 

วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Comments are closed.

error: Content is protected !!